VUCA World คืออะไร: ปรับตัวอย่างไรจากวิกฤต 2020 จนถึง 2023

VUCA World คืออะไร

VUCA World คืออะไร

ปรับตัวอย่างไรในสถานการณ์วิกฤตโลก 2020

VUCA World คืออะไร: ปรับตัวอย่างไรในสถานการณ์วิกฤตโลก 2020

จากสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี พฤติกรรมผู้บริโภค การแทนที่ของรูปแบบธุรกิจ Disruption สงครามการค้าระหว่างประเทศ และมาถึงสถานการณ์ของไวรัสขณะนี้ ทำให้เกิดผลกระทบต่อกันมาเรื่อยๆ อย่างมีนัยสำคัญ จนเราก็ไม่รู้ว่ามันจะจบลงเมื่อไหร่ และก็ไม่สามารถคาดการณ์เหตุการณ์ที่จะเกิดในอนาคตได้ สถานการณ์แบบนี้ เรียกว่า ” วูก้า ” VUCA หรือ VUCA World ซึ่งเกี่ยวข้องกับผู้ที่ต้องตัดสินใจ หรือผู้นำองค์กรมากที่สุด ที่จะต้องพร้อมรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ ตามแต่ละรูปแบบ ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 4 สถานการณ์ ซึ่งแต่ละสถานการณ์ก็มีตัวแปร (Factors / Drivers) ผลกระทบ (Effects) และแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่ไม่เหมือนกัน …

📌 Volatility คือ สถานการณ์ที่มีความผันผวนสูง
ตัวอย่างเช่นใน ตลาดหุ้น การเปลี่ยนแปลงของค่าเงิน ฯ
ซึ่งเหตุการที่ทำให้เกิดความผันผวน ส่วนใหญ่มักจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยภายนอก (สภาพแวดล้อม) ซึ่งเป็นปัจจัยที่เราไม่สามารถควบคุมได้ (ย้ำชัดๆ คือ ปัจจัยภายนอกที่ควบคุมไม่ได้) นอกจากนี้ยังมีปัจจัยด้านช่วงเวลาเข้ามาเกี่ยว เพราะมีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในช่วงเวลาอันสั้น เราจึงเรียกมันว่า ความผันผวน , แต่ในทางกลับกัน ถึงแม้จะเกิดการเปลี่ยน แต่ใช้ระยะเวลานาน เราก็คงจะไม่เรียก ความผันผวน (อาจจะเรียกว่า กระแส หรือเทรนด์ แทน)

ส่วนผลกระทบของความผันผวน ก็คือ ความเสี่ยง การไม่มีเสถียรภาพ ความไม่เชื่อมั่น หรือการเปลี่ยนแปลงแบบไม่มีกฎเกณฑ์

แนวทางออกของเหตุการณ์ที่มีความผันผวน คือ Vision (ปรับมุมมอง)
ด้วยการเปิดรับมุมมองหลายๆแง่ หรือหามุมมองแบบใหม่ เพราะความผันผวนสูง มุมมองที่ต้องมอง คือ การมองหาค่าเฉลี่ย หรือหาแนวโน้มของสถานการณ์นั้น และเปลี่ยน Mindset เป็นการมองแบบองค์รวม ภาพรวม

📌 Uncertainty คือ สถานการณ์ที่ไม่มีความแน่นอนสูง
ตัวอย่างของสถานการณ์ที่มีความไม่แน่นอน เช่น การปรับเปลี่ยนองค์กร/บริษัท การทดแทนของธุรกิจสมัยใหม่ หรืออาชีพในอนาคต จุดยืนทางการเมือง ฯ
ปัญหาหลักของสถานการณ์ที่ไม่มีความแน่นอน หรือไม่กล้าตัดสินใจ ก็คือ การที่เราไม่มีข้อมูล (ย้ำชัดๆ คือ ไม่มีข้อมูล) เพราะเมื่อไม่มีข้อมูล เราก็จะคาดการณ์ไม่ถูก เพราะไม่มีข้อมูลอะไร ที่จะนำมาใช้วิเคราะห์ จึงทำให้ไม่แน่ใจ จึงเกิดเป็นสถานการณ์ที่ไม่มีความแน่นอน นอกจากนี้ยังเสริมด้วยปัจจัยภายนอกอื่นๆ ที่แอบแฝงและทันคาดคิดเพิ่มเติมใหม่ด้วย ก็ยิ่งจะทำให้เกิดความไม่แน่นอนสูง

ส่วนผลกระทบของความไม่แน่นอน คือ ภาวะชะงักงัน การชะลอตัว การปิดระบบ และเกิดได้ทั้งวิกฤตและโอกาส

ดังนั้น แนวทางออกของเหตุการณ์ที่ไม่มีความแน่นอน คือ Understanding (ต้องเข้าใจสถานการณ์)
แต่การที่เราจะเข้าใจ และรู้ถึงสถานการณ์ได้ เราจะต้องมีข้อมูลก่อน และต้องเป็นข้อมูล ข้อเท็จจริง และต้องจะอัพเดทให้ตรงกับสถานการณ์ในปัจจุบัน เพื่อนำมาใช้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาของความไม่แน่นอน ได้ทันท่วงที

📌 Complexity คือ สถานการณ์ที่มีความซับซ้อนสูง
ตัวอย่างสถานการณ์ของความซับซ้อน เช่น โครงสร้างระบบทางการเงิน ทางเศรษฐกิจ ฯ โดยปัญหาหลักของสถานการณ์ที่มีความซับซ้อนสูง ก็คือ การมีตัวแปรหลายตัว ที่ถูกเชื่อมโยงกัน และส่งผลกระทบต่อกัน อย่างมีนัยสำคัญ (ย้ำชัดๆ คือ การมีหลายตัวแปร ที่มีผลกระทบต่อกัน) อีกทั้ง แต่ละตัวแปร ก็มีระดับอิทธิพลที่แตกต่างกันอีก ดังนั้น สถานการณ์ที่มีความซับซ้อนสูง มักจะเกิดขึ้นกับระบบที่มีโครงสร้างระบบใหญ่ๆ

และผลกระทบของสถานการณ์ที่มีความซับซ้อนสูง คือ เกิดความยุ่งยากในการแก้ไข ทำให้ต้องใช้เวลานานในการจัดการแก้ไขปัญหา และตัวแปรบางตัวอาจมีผลกระทบต่อเนื่องกัน แบบโดมิโน ซึ่งถ้าตัวแปรใดหนึ่งล้มไป ก็จะส่งผลต่อ ตัวแปรอื่นล้มไปด้วย (ซึ่งถ้าเกิดวิกฤตรุนแรง อาจจะล้มทั้งระบบก็ได้)

ส่วนแนวทางการแก้ไขปัญหาความซับซ้อน คือ Clearity (สร้างความชัดเจน)
โดยการจัดระบบระเบียบข้อมูล จัดระดับความสัมพันธ์ของตัวแปร ตัดข้อมูลที่ไม่จำเป็นออกไปก่อน รวมถึงต้องปรับโครงสร้างระบบใหม่ เพื่อให้เรามองเห็นภาพรวมที่ชัดเจน และการจัดการที่ง่ายยิ่งขึ้น

แต่ก็ต้องบอกว่าในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ที่มีความซับซ้อน บางครั้งเราก็ต้องยอมเสีย หรือตัดตัวแปรบางอย่างทิ้งไป เพื่อทำให้ปัญหาที่ใหญ่กว่า คลี่คลาย ชัดเจน

📌 Ambiguityคือ สถานการณ์ที่มีความคลุมเครือสูง
ตัวอย่างสถานการณ์ที่มีความคลุมเครือ เช่น เป็นมากกว่าเพื่อน แต่ไม่ใช่แฟน (แล้วเป็นอะไรว๊า ?)
หรือสถานการณ์ตอนนี้ คือ การติดเชื้อไวรัส Covid-19 มีจำนวนที่แท้จริงเท่าไหร่ และเราควรมีมาตรการป้องกันอย่างไรบ้าง > พูดง่าย คือ สถานการณ์ที่ไม่ชัดเจน มันก็เลยคลุมเครือ

โดยปัจจัยที่ทำให้เกิดความคลุมเครือ จะคล้ายกับ ความไม่แน่นนอน
– อย่างแรก ก็คือ ข้อมูล หรือความเป็นจริง เมื่อเราไม่มีข้อมูลที่แท้จริง มาใช้ประกอบในการตัดสินใจ ความคลุมเครือจึงเกิดขึ้น
– อย่างที่สอง คือ การแปลความ หรือตีความ ซึ่งบางที่ เราก็บอกว่ามีข้อมูลแล้ว แต่ก็ยังคลุมเครือ ก็เพราะว่ามันขึ้นอยู่กับ การแปลความหรือตีความ ข้อมูลนั้นอย่างไร (ย้ำชัดๆ คือ การตี-แปลความผิด)

เช่น คนที่เดินทางมาจากต่างประเทศ ถ้ามีการวัดอุณหภูมิแล้ว ไม่ได้เป็นไข้ ก็สรุปผลว่า ไม่ได้ติดไวรัส Covid-19 อันนี้เราอาจจะ ตีความผิดรึป่าว ? หรืออย่างจำนวนผู้ป่วยในประเทศเราที่มีหลักสิบ หลักร้อย (*ถ้าเป็นตัวเลขที่จริงนะ) การคงอยู่ในระดับที่ 2 ก็เหมาะสมแล้ว (ตามหลักมาตรฐาน)

ซึ่งส่วนใหญ่เรามักจะตีความผิด คือ การใช้ความรู้สึก(ด้านอารมณ์) มากกว่า เหตุผล (ข้อมูลจริงที่แสดง) ส่งผลให้เกิดความไม่แน่ใจ และยิ่งทำให้สถานการณ์เกิดความคลุมเครือมากขึ้นไปอีก

ดังนั้นแนวทางของการแก้ไขสถานการณ์ที่มีความคลุมเครือ ก็คือ Agility (ฉลาด ว่องไว ปราดเปรียว)
โดยการนำข้อมูล ข้อเท็จจริงมาใช้ในการตัดสินใจ ด้วยความว่องไว แต่ก็ต้องผ่านการคิดวิเคราะห์ด้วยความฉลาด รวมถึงอาศัยความปราดเปรียว ในการหาแนวทางสำรอง หรือแผนการฉุกเฉิน เพื่อพลิกสถานการณ์ให้กลับมาอยู่ในเกมส์ได้ และจะต้องตัดสินใจให้เด็ดขาดไปเลย ถ้าเกิดความผิดผลาด ก็เลือกใช้แผนสำรองที่เราเตรียมไว้ …
(การวางกลุยทธ์ที่ดี จึงต้องมีแผนการฉุกเฉิน แนบท้ายเพิ่มเข้าไปด้วยเสมอ)

รู้หรือไม่ ?
: การหาแผนสำรอง หรือแผนฉุกเฉิน นี้แหละ อาจทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมรูปแบบใหม่เกิดขึ้น

เพราะอะไร ?
: เนื่องจากสังคมโลกเริ่มเข้าถึงกันได้อย่างมากมายแบบอิสระ ทำให้สังคมยิ่งเกิดความซับซ้อน และคลุมเครือมากยิ่งขึ้น ดังนั้น องค์กร/ธุรกิจที่ Mindset ในการแก้ไขปัญหา จึงมีการคิดแผนสำรองไว้ เพื่อหาวิธีการรับมือกับสถานการณ์แบบนี้บ่อย และมันก็ดันใช้ได้ Work ด้วย เพราะในช่วงวิกฤติ องค์กรส่วนใหญ่มักจะมองเห็นแต่ปัญหา ตระหนักกับปปัญหาอย่างเดียว ทำให้ขาดไอเดียในการแก้ไขปัญหา ซึ่งจะแตกต่างกับองค์กรที่มี Agility คือ มีการคิดแผนสำรองไว้ล่วงหน้าแล้ว ก็สามารถดำเนินงานตามแผนงานต่อได้เลย ทำให้ลบความคลุมเครือได้ก่อน … นี้เรียกว่าเป็น Innovation Resolve
(ซึ่งนวัตกรรมที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ ก็คือ สร้างโมเดลมาเพื่อแก้ไขปัญหานั้นเอง)

สถานการณ์ของความคลุมเครือนี้ เราจึงมองว่า บางที่ก็มีโอกาสซ้อนอยู่ ในรูปแบบของนวัตกรรมใหม่ ที่ถูกสร้างมาเพื่อทำให้สถานการณ์มันชัดเจน นั่นเอง …
#หลังจบวิกฤตนี้เราน่าจะได้เรียนรู้นวัตกรรมใหม่แน่นอน

และในปี 2023 โลกยังคงต้องรับมือกับสภาวะ VUCA อย่างต่อเนื่อง โดยมีบางเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่อาจส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของคนทั่วโลกได้แก่

– การเปลี่ยนแปลงทางภูมิภาค: สภาพภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และภูมิภาคมีความผันผวนและไม่แน่นอน ทำให้เกิดเหตุการณ์เช่นพายุ แผ่นดินไหว และน้ำท่วม ซึ่งอาจส่งผลต่อการทำงาน การเข้าถึงทรัพยากร และการดำเนินชีวิตประจำวันของคนทั่วโลก

– การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ: การค้าและการลงทุนมีความผันผวนและความไม่แน่นอน ซึ่งอาจส่งผลต่อการจ้างงาน การเงิน และการเปลี่ยนแปลงของตลาดทุน นอกจากนี้ยังมีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เปลี่ยนแปลงได้ ทำให้เกิดความไม่แน่นอนในการทำธุรกิจระหว่างประเทศ

– การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี: เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจส่งผลต่อการทำงานและการดำเนินชีวิตประจำวันของคนทั่วโลก ยกตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงในด้านการสื่อสาร การขนส่ง และการผลิตสินค้าและบริการ

💬 นี่เป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น สรุปสุดท้าย บางสถานการณ์ อาจจะเกิดจากหลายรูปแบบผสามผสาน รวมกันอยู่ก็ได้
ดังนั้น วิธีการแแก้ไขปัญหา จึงจำเป็นที่จะต้องบูรณาการณ์ทุกองค์ความรู้เข้าด้วยกัน โดยการมองจากภาพรวมก่อน และสโคปเจาะลึกไปที่รายละเอียดของแต่ละปัญหา …

หวังว่าแนวคิด VUCA จะช่วยให้เรามองเห็นภาพรวม และก้าวผ่านมันไปได้อย่างมีสติ …

Cr. margetting.com/post/vuca-worldunsplash.com/@rcbtones