ใครคือผู้ถือหุ้นใหญ่ใน AIA

ใครคือผู้ถือหุ้นใหญ่ใน AIA

มีคนจำนวนมากยังคงเข้าใจผิดว่า บริษัท AIA มีชื่อเต็มว่า American International Assurance Company และเข้าใจว่า AIA มีผู้ถือหุ้นใหญ่คือ AIG (American International Group) ถ้าท่านเป็นคนหนึ่งที่คิดอย่างนั้น แสดงว่าท่านตกข่าวนานเป็นทศวรรษเลยครับ
 
ข้อเท็จจริงคือ AIA มีชื่อเต็มว่า AIA คือเขาใช้ตัวอักษร 3 ตัวเป็นชื่อจริงของเขาเลย ไม่มีชื่ออื่นแล้ว (เหมือนบริษัท FWD ที่ไม่มีชื่อเต็มอื่น ส่วนใครที่เข้าใจว่าชื่อเต็มคือ Forward ก็แสดงว่าท่านเข้าใจผิดอย่างแรง)
ถามว่า ทำไมบริษัท AIA จึงเลิกใช้ชื่อเต็มเดิมว่า American International Assurance Company คำตอบคือ เขาต้องการแสดงจุดยืนชัดเจนว่า ทุกวันนี้บริษัทนี้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบริษัท AIG แล้ว และไม่ได้เป็นบริษัทของสหรัฐอเมริกาอีกต่อไป
ถ้าใครติดตามข่าวสารช่วงที่บริษัท AIG ต้องขาดทุนมโหฬาร จากการเข้าไปรับประกันตราสารอนุพันธ์ทางการเงิน จนธนาคารกลางสหรัฐ (Federal Reserve Bank)ต้องเข้ามาอุ้ม ในปี 2009 เพราะถ้าไม่เข้ามาอุ้มจะมีชาวอเมริกันหลายล้านคนต้องเดือดร้อน จากการสะสมเงินบำนาญไว้ที่บริษัทนี้
 
แต่ทางการสหรัฐก็ไม่ได้เข้ามาอุ้มฟรีๆ เขามีข้อแลกเปลี่ยนว่า AIG ต้องขายทรัพย์สินมาใช้หนี้ธนาคารกลาง และทรัพย์สินที่มีค่ามากที่สุดของ AIG ซึ่งมีคนเปรียบว่าเป็นดั่งเพชรยอดมงกุฎ คือ บริษัท AIA
AIG จึงต้องประกาศขายหุ้นของบริษัท AIA ออกมา ตอนแรกมีข่าวว่าบริษัท Prudential ของอังกฤษจะมาขอซื้อหุ้น แต่ปรากฏว่าบริษัท AIA มีขนาดใหญ่กว่าบริษัท Prudential เสียอีก จึงไม่มีปัญญาซื้อได้
ทางธนาคารกลางสหรัฐจึงต้องขายหุ้น AIA ผ่านตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง เพราะสำนักงานใหญ่ของ AIA อยู่ที่ฮ่องกง และธุรกิจของ AIA ก็อยู่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคทั้งหมด โดยจดทะเบียนเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงในเดือนตุลาคม 2010 (อีกเหตุผลคือ ตอนนั้น อเมริกากำลังเกิดวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ (ซับไพรม์) ขณะที่ตลาดทุนในเอเชียกำลังแข็งแรง การระดมทุนในเอเชียจึงทำได้ง่ายกว่า)
 
ปรากฏว่า การเสนอขายหุ้นครั้งนั้น ถือเป็นการขายหุ้นผ่านตลาดหลักทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 3 ของโลก สามารถระดมทุนได้ถึง 159,080 ล้านเหรียญฮ่องกง หรือ 20.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 6.5 แสนล้านบาท (AIA held an IPO in October 2010, raising approximately HK$159.08 billion (US$20.51 billion), the world’s third largest IPO ever)
และในเดือนธันวาคม ปี 2012 บริษัท AIG ได้ขายหุ้นส่วนที่เหลือในบริษัท AIA อีก 13.69% จนหมด โดยไม่ได้ถือหุ้นอีกเลย สิ้นสุดความเป็นบริษัทลูกของ AIG และไม่ใช่บริษัทของอเมริกาอีกต่อไป (On 21 December 2012, AIG sold all of its 13.69% shareholding in AIA)
แล้วใครเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัท AIA
 
ตามข้อมูลจากเว็บไซต์ Marketscreener.com ได้ระบุรายนามผู้ถือหุ้นใหญ่ 5 อันดับแรก ดังนี้
1. Capital Research & Management Co. (World Investors) 3.46%
2. The Vanguard Group, Inc. 2.58%
3. Fidelity Management & Research Co. LLC 1.80%
4. BlackRock Fund Advisors 1.77%
5. JPMorgan Investment Management, Inc. 1.60%
ดังนั้น พอจะสรุปได้ว่า บริษัท AIA เป็นบริษัทมหาชนอย่างแท้จริง ไม่มีผู้ถือหุ้นใหญ่ที่สามารถกุมอำนาจเบ็ดเสร็จ ผู้ถือหุ้น 10 อันดับแรก ส่วนใหญ่เป็นกองทุนรวมที่มาถือหุ้นเพื่อการลงทุนระยะยาวอีกต่อหนึ่ง นอกนั้นเป็นนักลงทุนรายย่อยชาวฮ่องกง จีน และคนเอเชียนับแสนคน
ในข้อมูลของ marketscreener.com ระบุไว้ว่า บริษัท AIA มีจำนวนหุ้นทั้งหมด 12,006 ล้านหุ้น มีหุ้นที่จัดเป็น free-float 12,001 ล้านหุ้น หรือคิดเป็นอัตราส่วนเกือบ 100% เต็ม มีหุ้นเพียง 5 ล้านหุ้นที่ถือโดยผู้บริหาร ซึ่งคิดเป็น 0.04%
(Free Float คือ ปริมาณการถือครองหุ้นของ “ผู้ลงทุนรายย่อย” ซึ่งผู้ลงทุนรายย่อย คือ ผู้ถือหุ้นที่ไม่ได้มีส่วนร่วมในการบริหาร และไม่ได้ถือหุ้นเพื่อประโยชน์เชิงกลยุทธ์ทางธุรกิจ)
 
ดังนั้น กรรมการที่มาบริหารจึงมาจากการลงคะแนนเสียงของผู้ถือหุ้นรวมกัน ไม่ใช่คนใดคนหนึ่ง แต่กระนั้น บริษัทแห่งนี้ก็มีผลการดำเนินงานที่ดีมาโดยตลอด หากดูราคาหุ้นที่เป็นตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน จะพบว่า จากราคา IPO ที่ราคา 19.68 เหรียญฮ่องกง เมื่อปี 2010 มาถึงวันนี้ ราคาหุ้นได้ขึ้นมายืนที่ 83 เหรียญอย่างมั่นคง เท่ากับขึ้นมาแล้ว 320% (หุ้น AIA เคยขึ้นไปถึง 108 เหรียญฮ่องกง เมื่อต้นปี 2021 ก่อนที่จะมีการล็อคดาวน์ในจีน จนกระทบยอดขายในฮ่องกง)
 
ปัจจุบัน AIA Group มีสาขาใน 18 ประเทศทั่วเอเชียแปซิฟิค ได้แก่ ฮ่องกง จีน ไต้หวัน มาเก๊า เกาหลีใต้ สิงคโปร์ ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เวียดนาม บรูไน กัมพูชา พม่า ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ศรีลังกา และอินเดีย ส่วนใหญ่บริษัทจะถือหุ้น 100% ในสาขาเหล่านั้น ยกเว้นบางประเทศที่รัฐบาลมีนโยบายให้บริษัทประกันชีวิตต้องมีคนในประเทศถือหุ้นด้วย ก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมายประเทศนั้นๆ
ทุกวันนี้ บริษัท AIA ประกาศนโยบายชัดเจนว่า จะเน้นการทำธุรกิจเฉพาะในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค และจะเป็นบริษัทประกันชีวิตที่ดีที่สุดในภูมิภาคนี้
 
ผมหวังว่า จากวันนี้ไป คงไม่มีใครไปพูดผิดๆว่า ฉันทำงานอยู่ที่บริษัท American International Assurance หรือ ไปพูดว่า AIA เป็นบริษัทอเมริกัน เป็นบริษัทลูกของ AIG อีก
ไม่อย่างนั้น คุณกำลังปล่อยไก่ตัวใหญ่เลยทีเดียวครับ
 
เราคือที่ปรึกษาการเงิน ให้คำปรึกษาด้าน👩🏻‍🦼การบริหารความเสี่ยง 💰การบริหารจัดการความมั่งคั่ง 🏥การประกันชีวิต 📶📈ประกันชีวิตควบการลงทุนในกองทุนรวมหุ้น ตราสารหนี้ทั้งในและต่างประเทศทั่วโลก 🏦การวางแผนภาษี 🚘การประกันภัย
ด้วยทีมงานมืออาชีพที่มากด้วยประสบการณ์ที่จะนำพาท่านสู่ความสำเร็จ 🏆🏆🏆
 
สนใจร่วมงานกับเรา เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การเป็นที่ปรึกษาทางการเงินมืออาชีพได้ตามช่องทางนี้
FB: Nareerat IFA
E-mail: moneyandwealthplus@gmail.com
Tel: 063-282-3651