ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงการเกิดโรคทางสมองมากขึ้น โดยโรคทางสมองที่พบบ่อย ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมองตีบตัน และโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งมีสาเหตุ ดังนี้
โรคนี้เกิดจากหลอดเลือดแข็งตัว เพราะมีไขมันสะสมในผนังด้านในของหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบหรือแคบลง จนปิดกั้นการไหลเวียนของเลือด ส่งผลต่อเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้เกิดภาวะหัวใจขาดเลือดเกิดขึ้น โดยปัจจัยเสี่ยงนอกจากอายุที่มากขึ้น เพศ และประวัติครอบครัวแล้ว ปัจจัยเสี่ยงต่างๆ จะมาจากการใช้ชีวิตประจำวัน อาหารการกิน และการขาดการออกกำลังกายอีกด้วย
พอเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ ความแข็งแรงของสุขภาพร่างกายก็ลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ความแข็งแรงของกระดูก” โดยโรคกระดูกที่ผู้สูงอายุเสี่ยง ได้แก่ โรคกระดูกพรุน และ โรคข้อเข่าเสื่อม ซึ่งมีสาเหตุ ดังนี้
นอกจากกระดูกจะเสื่อมสภาพลงแล้ว ตาของผู้สูงอายุก็มีความเสื่อมตามไปด้วย โดยโรคตาที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ได้แก่ โรคจอประสาทตาเสื่อม โรคต้อกระจก โรคต้อหิน เป็นต้น แม้จะเกิดจากหลายสาเหตุ และมีอาการที่แตกต่างกัน แต่สาเหตุส่วนใหญ่ของโรคตาเกิดจากความเสื่อม เนื่องจากอายุที่มากขึ้น ทำให้การมองเห็นลดลง
อีกโรคยอดฮิตที่พบมากในผู้สูงอายุ เกิดจากความผิดปกติของร่างกายที่มีการผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ มีภาวะดื้อต่ออินซูลิน (ข้าว,แป้ง) โปรตีนและไขมัน ทำให้ฮอร์โมนอินซูลินขาดหรือฮอร์โมนอินซูลินออกฤทธิ์ได้น้อยลง ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดไปใช้ได้ตามปกติ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูง ซึ่งหากไม่ควบคุมระดับน้ำตาลให้เป็นปกติ หรือปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานานอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ เช่น ตาพร่ามัว ตาบอด ไตเสื่อม ชาตามปลายมือปลายเท้า และอาจติดเชื้อได้ง่าย
โรคนี้ในช่วงแรกมักไม่แสดงอาการ แต่เมื่อไตเริ่มเสื่อมมากขึ้น จะทำหน้าที่ลดลง และเกิดการคั่งของเสียมากขึ้น ส่งผลถึงการทำงานของเนื้อเยื่ออวัยวะต่างๆ ทำให้ไม่สามารถทำงานต่อได้ปกติ นำไปสู่ภาวะไตวายเรื้อรัง อันนำไปสู่การรักษาอย่างการล้างไต ฟอกเลือด และเปลี่ยนไตในที่สุด อาการของโรคไต เช่น อ่อนเพลีย บวม เหนื่อยง่าย ความดันโลหิตสูง เบื่ออาหาร ระบบทางเดินปัสสาวะผิดปกติ เป็นต้น
เมื่ออายุมากขึ้นความดันก็จะสูงขึ้นเรื่อยๆ โอกาสพบโรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุก็จะมากกว่าคนที่อายุน้อย รวมไปถึงผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน หรืออยู่ในภาวะอ้วนก็จะทำให้แรงต้านทานของเส้นเลือดที่อยู่ในร่างกายสูงขึ้นด้วยเช่นกัน โดยปกติค่าความดันโลหิตของคนทั่วไปจะต้องไม่เกิน 120/80 – 139/89 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งหากมีความดันมากกว่านี้ จะจัดว่าเป็นผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง โรคนี้มักจะไม่แสดงอาการผิดปกติ แต่บางครั้งหากความดันโลหิตขึ้นสูงมากก็จะมีอาการแสดง เช่น ปวดศีรษะรุนแรง หายใจสั้น หน้ามืด ตาพร่า หากปล่อยไว้นานอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น โรคหัวใจ โรคไต โรคหลอดเลือดสมองตีบหรือแตกเกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นต้น
เมื่ออายุมากขึ้นความเสี่ยงของการเกิดโรคต่างๆ ก็เพิ่มขึ้นตามมาด้วย การดูแลตัวเองและการดูแลจากคนใกล้ชิดจะทำให้ผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวเหล่านี้ สามารถบรรเทาความเจ็บป่วย และทำให้มีสุขภาพที่ดีขึ้นได้ ที่สำคัญการตรวจสุขภาพเป็นประจำ จะเป็นเครื่องมือที่ป้องกันโรคต่างๆ ที่อาจรุมเร้าเข้ามาได้