น.ส.วันเพ็ญ พูลวงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) ได้ตอบข้อซักถามถึงอัตราการว่างงานของคนไทยที่ สสช.สำรวจว่าอยู่ที่ 1.9% ของผู้มีงานทำ หรือประมาณ 700,000 คน สวนทางกับภาคธุรกิจเอกชนที่ ออกมาเปิดเผยว่า มีจำนวนผู้ว่างงานสูงมากนับล้านคน เช่น ในธุรกิจท่องเที่ยวและโรงแรม ระบุว่าจากคนทำงาน 4 ล้านคน มีผู้ที่ตกงานและออกจากระบบไปเลย 1 ล้านคน ผู้ที่ทำงานไม่เต็มเวลา 2 ล้านคน และอีก 1 ล้านคน ยังได้รับเงินเดือนปกติ โดยกรณีดังกล่าวต้องอธิบายว่า การทำสำรวจของ สสช. ยึดคำนิยามของผู้ว่างงาน ตามองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) และการสำรวจของ สสช.ได้พบว่าผลจากโควิด-19 พบตัวเลขผู้เสมือนว่างงานที่ทำงานน้อยกว่า 4 ชั่วโมงต่อวัน สูงขึ้นอย่างมาก
“ไตรมาส 1 ของปี 2563 ที่มีผู้ว่างงาน 395,000 คน หรือ 1% ต่อจำนวนผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงาน ขณะเดียวกัน มีผู้เสมือนว่างงาน 4.25 ล้านคน และไตรมาส 2 ที่พบผู้ว่างงานสูงขึ้นไปเป็น 745,000 คน หรือ 2% ก็พบผู้เสมือนว่างงานถึง 5.41 ล้านคน สำหรับไตรมาส 3 มีผู้ว่างงาน 738,000 คน หรือ 1.9% และมีผู้เสมือนว่างงาน 2.68 ล้านคน ส่วนไตรมาส 4 มีผู้ว่างงาน 727,000 คน หรือ 1.9% มีผู้เสมือนว่างงาน 2.35 ล้านคน และปีนี้ สสช.จะสำรวจภาวะการทำงานของธุรกิจท่องเที่ยวและโรงแรม ที่ถือเป็นภาคที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เป็นการเฉพาะด้วย”
สำหรับคำนิยามที่ สสช.นำมาใช้ ผู้ว่างงาน หมายถึงบุคคลที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป และในสัปดาห์แห่งการสำรวจมีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ 1.ไม่ได้ทำงานและไม่มีงานประจำ แต่ได้หางาน สมัครงานหรือรอการบรรจุในระหว่าง 30 วัน ก่อนวันสัมภาษณ์ 2.ไม่ได้ทำงานและไม่มีงานประจำ และไม่ได้หางานทำในระหว่าง 30 วันก่อนวันสัมภาษณ์ แต่พร้อมที่จะทำงานในสัปดาห์แห่งการสำรวจ ส่วนผู้เสมือนว่างงาน หมายถึงผู้ที่ทำงาน น้อยกว่า 4 ชั่วโมง/วัน โดยอัตราการว่างงานหมายถึง ร้อยละของจำนวนผู้ว่างงานต่อจำนวนผู้ที่อยู่ใน กำลังแรงงาน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงว่า ตลอดปี 2563 ตลาดแรงงานได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ทำให้อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นและชั่วโมงการทำงานลดลง โดยกำลังแรงงานปี 2563 มี 38.5 ล้านคน ขยายตัว 1% การจ้างงานขยายตัว 0.2% จากการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม ขยายตัว 0.3% การจ้างงานภาคเกษตรกรรมลดลง 0.1% อัตราการว่างงานปีที่ผ่านมาอยู่ในระดับสูงที่ 1.69% เพิ่ม จากปี 2562 ที่ 0.98% และชั่วโมงการทำงานโดย เฉลี่ยลดลง โดยชั่วโมงการทำงานภาคเอกชนอยู่ที่ 43.2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ลดลงจาก 45.8 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือลดลง 5.7% ขณะที่แรงงานที่ทำงานล่วงเวลา หรือทำงานมากกว่า 50 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ มีจำนวนลดลง 17.1% ส่วนหนึ่งทำให้แรงงานมีรายได้ ลดลงและอาจไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ
ขณะที่ปัจจัยเสี่ยงด้านแรงงานในปีนี้ ได้แก่ 1.ความไม่แน่นอนของการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ และผลกระทบต่อเศรษฐกิจ หากมีการระบาดระลอกใหม่ จะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบ–การ โดยเฉพาะกลุ่มที่ยังไม่ฟื้นตัวจากการระบาดรอบแรก อาจลดตำแหน่งงานลง หรือปรับเปลี่ยนรูปแบบการจ้างงาน โดยเฉพาะแรงงานในสถานประ– กอบการขนาดเล็ก สาขาโรงแรมภัตตาคาร ค้าปลีกและค้าส่ง
ขณะที่ผู้ประกอบอาชีพอิสระ จะมีรายได้ลดลงจากการชะลอตัวของการบริโภคภาคเอกชน หากไม่สามารถควบคุมการระบาดได้ รวมทั้งยังมีความล่าช้าในการได้รับวัคซีน และกระจายให้กับประชาชน แรงงานอาจได้รับผลกระทบที่รุนแรงและ ยาวนานขึ้น 2.ภัยแล้งจากปริมาณน้ำในเขื่อนที่มี ปริมาณลดลง 3.การขาดแคลนแรงงาน โดยเฉพาะกลุ่มทักษะด้านเทคโนโลยีและดิจิทัล.
“เราพร้อมเปิดประตูมอบโอกาสให้คนยุคใหม่ มาเป็นส่วนหนึ่งของ Money and Wealth Plus ด้วยกันนะคะ อนาคตที่คุณเลือกเองได้”
Cr. https://www.thairath.co.th/news/business/2050837…
Cr. Photo by Inzmam Khan from Pexels
Tel: 063-282-3651
Web: moneyandwealthplus.com
Line: lin.ee/k5HwV9W
Map: g.page/MoneyandWealthPlus
#MoneyandWealthPlus #Lifestyle #Freedom #Money #Fund #Financial #FA #Investment #Consultant #WealthCreation #WealthProtection #WealthAccumulation #WealthDistributio