เงินบาทปรับตัวอ่อนค่า หลังตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

เงินบาทปรับตัวอ่อนค่า

เงินบาทปรับตัวอ่อนค่า หลังตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

บาทปรับตัวอ่อนค่า หลังตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

     เงินบาทปรับตัวอ่อนค่า หลังตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ธปท.คาดกว่าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวเท่ากับก่อนโควิดระบาด น่าจะต้องใช้เวลาถึงไตรมาส 1 ปี 2566

     ฝ่ายค้าเงินตราต่างประเทศ ธนาคารกรุงเทพ รายงานว่า สภาวการณ์เคลื่อนไหวตลาดปริวรรตเงินตราประจำวันจันทร์ที่ 28 มิถุนายน 2564 ค่าเงินบาทเปิดตลาดเช้าวันนี้ (28/6) ที่ระดับ 31.87 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวอ่อนค่าจากระดับปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ (25/6) ที่ระดับ 31.78/79 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ
 
     ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปรับตัวแข็งค่าเทียบกับเงินสกุลหลักแม้ว่าเมื่อคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา (25/6) กระทรวงพาณิชย์สหรัฐได้เปิดเผยดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลพื้นฐาน ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงานของสหรัฐประจำเดือนพฤษภาคม ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.5% ซึ่งต่ำกว่าที่คาดการณ์ ณ ระดับ 0.6%

     ทั้งนี้ตัวเลขดังกล่าวบ่งชี้ถึงการขยายตัวของเงินเฟ้อสหรัฐที่ต่ำกว่าที่คาดการณ์ ส่งผลให้นักลงทุนคลายความกังวลในเรื่องของโอกาสที่เฟดจะยกเลิกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเร็วกว่าที่คาดไปได้ นอกจากนี้มหาวิทยาลัยมิชิแกนได้เปิดเผย ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐประจำเดือนมิถุนายนอยู่ที่ระดับ 85.5 ซึ่งต่ำกว่าที่คาดการณ์ ณ ระดับ 86.5
ทั้งนี้ ค่าเงินบาทยังถูกกดดันจากสถานการณ์การแพร่ระบาดที่รุนแรงของไวรัสโควิด-19 ภายในประเทศ หลังจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้เผยตัวเลขสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศ ประจำวันจันทร์ที่ 28 มิถุนายน พบผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 5,406 ราย แบ่งเป็นผู้ติดเชื้อใหม่ 5,397 ราย ซึ่งเป็นจำนวนที่สูงที่สุดนับตั้งแต่การระบาดของไวรัสโควิด-19 และแบ่งเป็นผู้ติดเชื้อในเรือนจำ 9 ราย รวมยอดติดเชื้อสะสม 24,853 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 22 ราย เสียชีวิตสะสม 1,934 ราย
 
     ทั้งนี้ นายเมธี สุภาพงษ์ รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้กล่าวในงานเสวนา “ฟ้าหลังฝน มิติใหม่ท่องเที่ยวไทย” โดยคาดว่าเศรษฐกิจไทยต้องใช้เวลาในการฟื้นตัวและอาจจะต้องรอถึงไตรมาส 1 ปี 2566 กว่าจะกลับมาฟื้นตัวได้เท่ากับในระดับที่ก่อนเกิดการระบาดของโควิด-19
 
     เนื่องจากขณะนี้ยังมีผู้ติดเชื้อรายใหม่ในประเทศเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้รัฐบาลต้องออกมาตรการเพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ซึ่งถือเป็นมาตรการที่ส่งผลกระทบอย่างมากกับภาคการท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับภาคการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงและยาวนาน จากการออกใช้มาตรการเพื่อยับยั้งการระบาดที่รุนแรงขึ้น

     ขณะที่การเร่งการฉีดวัคซีนในกลุ่มเสี่ยงพึ่งจะเริ่มดำเนินการได้เมื่อต้นเดือนมิถุนายน 2564 โดยระหว่างวันค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 31.80-31.96 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดที่ระดับ 31.95/97 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ
สำหรับความเคลื่อนไหวของค่าเงินยูโรเปิดตลาดเช้านี้ (28/6) ที่ระดับ 1.1931/35 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร ปรับตัวอ่อนค่าจากระดับปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ (25/6) ที่ระดับ 1.1937/41 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร ค่าเงินยูโรปรับตัวอ่อนค่าจากการแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐ (25/6)

     ทั้งนี้เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (25/6) สถาบัน Destatis ได้เปิดเผยดัชนีราคาสินค้าส่งออกของเยอรมัน ประจำเดือนพฤษภาคมปรับตัวเพิ่ม 1.7% ซึ่งสูงกว่าที่คาดการณ์ ณ ระดับ 1.3% โดยระหว่างวันค่าเงินยูโรเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 1.918-1.1944 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร และปิดตลาดที่ระดับ 1.1935/39 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร

     สำหรับการเคลื่อนไหวของค่าเงินเยนเปิดตลาดเช้าวันนี้ (28/6) ที่ระดับ 110.69/71 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวแข็งค่าจากระดับปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ (25/6) ที่ระดับ 110.75/78 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้นักลงทุนยังคงมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในญี่ปุ่น

     โดยในวันอาทิตย์ที่ผ่านมา (27/6) นายฮิเดมาสะ นาคามูระ หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการหลักของการแข่งโตเกียวโอลิมปิกและพาราลิมปิกได้เปิดเผยว่า นักกีฬาและตัวแทนที่เข้าร่วมการแข่งขันโตเกียวโอลิมปิกและพาราลิมปิก ควรจะต้องแยกกักตัวในทันทีหากเดินทางมาถึงญี่ปุ่นเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

     ข้อเสนอดังกล่าวมีขึ้นหลังจากที่สมาชิกทีมโอลิมปิก 2 รายจากทั้งหมด 9 รายของทีมชาติยูกันดามีผลตรวจโควิด-19 เป็นบวก หลังจากเดินทางถึงญี่ปุ่นในเดือนนี้ โดยระหว่างวันค่าเงินเยนเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 110.60-110.83 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดที่ระดับ 110.73/73 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ

     ดัชนีสำคัญทางเศรษฐกิจในสัปดาห์นี้ได้แก่รายงานความเชื่อมั่นผู้บริโภคจากซีบีของสหรัฐ (29/6), ดัชนีราคาผู้บริโภคปีต่อปีของยุโรป (30/6), การเปลี่ยนแปลงการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐ (30/6), ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อในเขตชิคาโกของสหรัฐ (30/6), ยอดขายบ้านที่รอการปิดการขายเดือนต่อเดือนของสหรัฐ (30/6), ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตของเยอรมัน (1/6), จำนวนผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานของสหรัฐ (1/6), ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตของสหรัฐ (1/6), รายได้เฉลี่ยต่อชั่วโมงเดือนต่อเดือนของสหรัฐ (2/6), การจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐ (2/6) และอัตราการว่างงานของสหรัฐ (2/6)

     สำหรับอัตราป้องกันความเสี่ยง (Swap point) ภาคเช้า 1 เดือนในประเทศอยู่ที่ -0.30/+0.20 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐ และอัตราป้องกันความเสี่ยง ภาคเช้า 1 เดือนต่างประเทศอยู่ที่ +3.50/+4.50 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐ
 
Tel: 063-282-3651
cr. Photo Pixabay Pexels
 
#MoneyandWealthPlus #Finnaree #IC #FA #FAPrime #MDRT #Lifestyle #Freedom #Money #Fund #Financial #Investment #Consultant #WealthCreation #WealthProtection #WealthAccumulation #WealthDistributio“อีคอนไทย” เผยภาพรวมการจ้างงานใหม่ยังไม่ฟื้นตัว พบแรงงานไทยตกงานเกือบ 2 ล้านคน“อีคอนไทย” เผยภาพรวมการจ้างงานใหม่ยังไม่ฟื้นตัว พบแรงงานไทยตกงานเกือบ 2 ล้านคน