สรุปมาตรการ “แก้หนี้ในระบบ-หนี้นอกระบบ”

ฉบับย่อของรัฐบาล แต่ละกลุ่มได้สิทธิอะไรบ้าง?

หลังจาก นายกรัฐมนตรี “เศรษฐา ทวีสิน” ประกาศเดินหน้า แก้หนี้ทั้งระบบ และยกเป็นวาระแห่งชาติ เพื่อ ปลดล็อกชีวิตคนไทย โดยมีการแถลงข่าวเกี่ยวกับมาตรการแก้หนี้ของรัฐบาลมาแล้ว 3 ครั้ง 3 คราว ได้แก่ เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน, 8 ธันวาคม และวานนี้ 12 ธันวาคม พบมีลูกหนี้หลายกลุ่มที่จะได้รับการช่วยเหลือ

รวมถึง เมื่อ 1 ธันวาคม ที่ผ่านมา กระทรวงมหาดไทย ยังเริ่มเปิดรับลงทะเบียนหนี้นอกระบบ เพื่อใช้ในการติดตามเจ้าหนี้และลูกหนี้ ให้เข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยต่อไปด้วย

ทั้งนี้ ThairathMoney สรุป แนวทางช่วยเหลือลูกหนี้ หลากหลายกลุ่มด้วยกัน ที่จะได้รับประโยชน์จากมาตรการแก้หนี้ดังกล่าว ทั้งที่เป็นมาตรการที่ ครม. ได้เห็นชอบไปแล้ว เช่น การพักหนี้เกษตรกร, มาตรการที่รัฐบาล ระบุว่า สามารถดำเนินการขยายผลได้ทันที เช่น เรื่องหนี้ครู หนี้ข้าราชการ หนี้บัตรเครดิต หนี้เช่าซื้อรถยนต์ หรือ มอเตอร์ไซค์ ดังต่อไปนี้

แก้หนี้กลุ่มเกษตรกร

  • พักหนี้เกษตรกรทั้งต้นและดอก วงเงินไม่เกิน 300,000 บาท/ราย รวมระยะเวลา 3 ปี โดยที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติ เมื่อ 26 ก.ย. 2566

หนี้นักศึกษา (หนี้ กยศ.)

  • ลดดอกเบี้ย
  • ปรับแผนจ่ายเงิน
  • ปลดผู้ค้ำประกัน
  • ถอนอายัดบัญชี

แนวทางแก้หนี้ครู และข้าราชการ

  • หักหนี้ไม่เกิน 70% ของเงินเดือน
  • จัดทำสวัสดิการเงินกู้ข้าราชการ (ดอกเบี้ยต่ำ)

แก้หนี้บัตรเครดิตกับรัฐบาล

  • ปรับโครงสร้างหนี้ ผ่านโครงการ “คลินิกแก้หนี้” ผ่อนได้นาน 10 ปี ลดดอกเบี้ยเหลือ 3-5% ต่อปี

หนี้ สินเชื่อรถยนต์ และ รถจักรยานยนต์

  • กำหนดให้สัญญาเช่าซื้อรถยนต์ และรถมอเตอร์ไซค์ เป็นสัญญาควบคุม มอบหมาย สคบ.ดำเนินการได้เลย ตามประกาศ เมื่อ 12 ต.ค. 2566

แก้หนี้กลุ่มธุรกิจ SME (วิสาหกิจขนาดกลางและย่อม)

  • ยกเลิกสถานะหนี้เสีย สำหรับธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19
  • อนุญาตให้ปรับโครงสร้างหนี้

หนี้นอกระบบ

  • ให้นายอำเภอ และตำรวจในท้องถิ่น ช่วยเจรจาประนอมหนี้ สำหรับผู้ที่จ่ายเงินต้นครบถ้วนแล้ว
  • เปิดให้ลงทะเบียนแก้หนี้นอกระบบ ทางออนไลน์ที่ https://debt.dopa.go.th หรือลงทะเบียนได้ ณ ที่ว่าการอำเภอ หรือสำนักงานเขตทั่วประเทศ (ตั้งแต่ 1 ธ.ค. 2566 ถึง หมดเขต 29 ก.พ. 2567)

หนี้เสีย ( NPL)

  • ตั้งบริษัทร่วมทุน ระหว่างธนาคารของรัฐ กับบริษัทบริหารสินทรัพย์เพื่อรับโอนหนี้เสีย เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้กับลูกหนี้ อย่างคล่องตัวมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม รัฐบาล ระบุว่า แนวทางแก้หนี้ข้างต้นทั้งหมดเป็นเพียงการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ ในระยะเร่งด่วน เพื่อต่อลมหายใจให้ลูกหนี้ทุกกลุ่ม ส่วนในระยะยาว ต้องแก้ปัญหาในระดับโครงสร้าง

เช่น การให้บริการสินเชื่อให้เหมาะสมและเป็นธรรม สะท้อนความเสี่ยงของลูกหนี้มากขึ้น, มีมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคที่เหมาะสม และป้องกันปัญหาการก่อหนี้เกินศักยภาพ ซึ่งการให้สินเชื่อ จะพิจารณาข้อมูลอื่นนอกเหนือจากประวัติการชำระสินเชื่อ เช่น ประวัติการชำระค่าน้ำ หรือค่าไฟของลูกหนี้ ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนเข้าถึงสินเชื่อในระบบได้ง่ายขึ้น

การผลักดันให้สหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน รายงานข้อมูลเครดิตไปยัง NCB เพื่อให้ผู้ให้สินเชื่อทุกรายสามารถประเมินความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ และการจัดการบุริมสิทธิในการตัดเงินเดือนของลูกหนี้ที่เป็นธรรมกับทุกฝ่าย เพื่อชำระหนี้กับผู้ให้สินเชื่อได้อย่างเหมาะสม

cr.https://www.thairath.co.th/money/economics/thailand_econ/2747475?fbclid=IwAR3Lernmn_CuG-OGgj63kLUNvxMutseW97r–GMt2krgUN7VAUFF1BS8_rM

เราคือที่ปรึกษาการเงินให้คำปรึกษาด้านการบริหารความเสี่ยง📈การบริหารจัดการความมั่งคั่ง💵การประกันชีวิต👩🏻‍🦼ประกันชีวิตควบการลงทุนในกองทุนรวมหุ้น ตราสารหนี้ทั้งในและต่างประเทศทั่วโลก 🏦การวางแผนภาษี การประกันภัย 🚘 ด้วยทีมงานมืออาชีพที่มากด้วยประสบการณ์ที่จะนำพาท่านสู่ความสำเร็จ
 
🏆สนใจร่วมงานกับเราเพื่อเตรียมความพร้อมสู่การเป็นที่ปรึกษาทางการเงินมืออาชีพได้ทันที💰:
E: moneyandwealthplus@gmail.com
T: 063-282-3651
 
📺รวมช่องทางสื่อสารของเรา📣