วัยรุ่นช็อปปิ้งห้างน้อยลง ปี 2020

วัยรุ่นช็อปปิ้งห้างน้อยลง

วัยรุ่นช็อปปิ้งห้างน้อยลง

วัยรุ่นช็อปปิ้งห้างน้อยลง อเมริกาต่ำสุดรอบทศวรรษ ยิ่งใหญ่ ยิ่งเจ็บ
 
วนกลับมาอีกครั้ง กับ Shopping Day 10.10 (วันที่ 10 เดือน 10) ที่เหล่าขาช็อปชาวไทยเฝ้ารอคอยอย่างจดจ่อ ต่อจาก Shopping Day 9.9 (วันที่ 9 เดือน 9) ที่ยอดขายบนเว็บไซต์ออนไลน์พุ่งกระฉูด มากกว่า 10 ล้านชิ้นตั้งแต่ชั่วโมงแรก รวมแล้วตลอดปี 2563 ตลาดอีคอมเมิร์ซไทย (e-Commerce) มีรายได้ถึง 2.3 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 42.4% แต่… ในตัวเลขการเติบโตที่ว่านี้ กลับพบตัวเลขบางอย่างที่ “สวนทาง” แล้ว “ตัวเลขสวนทางที่ว่านั้นคืออะไร?” เราจะมาไล่เรียงและหา “คำตอบ” ไปพร้อมกัน…

ตลาดอีคอมเมิร์ซไทย หากเปรียบเป็นตลาดสดก็เรียกว่าเดินกันขวักไขว่ไหล่ชนกันทีเดียว มีผู้ใช้มากถึง 33.7 ล้านยูสเซอร์ เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 9.6% และอย่างที่บอกไปตอนแรก ปีนี้ (2563) สร้างรายได้กว่า 2.3 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 42.4% อยู่อันดับต้นๆ ของโลก

แน่นอนว่า อันดับ 1 ไม่ใช่ใครที่ไหน “จีน” พี่ใหญ่ตลาดอีคอมเมิร์ซ ที่กวาดรายได้ปีนี้ไปกว่า 34 ล้านล้านบาท

แล้วรู้ไหมว่า สินค้าอะไรที่สร้างรายได้ในตลาดอีคอมเมิร์ซไทยได้มากที่สุด?
บรรดาขาช็อปน่าจะเดากันถูกว่า สินค้าที่สร้างรายได้มากที่สุด คือ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ & สื่อ มีรายได้มากถึง 7.4 หมื่นล้านบาท รองลงมาเป็นอาหาร & การดูแลตัวเอง ที่ทำรายได้ไป 7.3 หมื่นล้านบาท
เชื่อว่า Shopping Day 10.10 (วันที่ 10 เดือน 10) ก็น่าจะทำยอดขายได้ไม่น้อยหน้า 9.9 (วันที่ 9 เดือน 9) แน่นอน
และนอกจาก “จีน” ที่สร้างรายได้มาเป็นอันดับ 1 แล้ว คู่แข่งอย่าง “สหรัฐอเมริกา” ก็คงไม่ยอมน้อยหน้า ตามมาติดๆ เป็นอันดับ 2 ทำรายได้ตลาดอีคอมเมิร์ซสูงสุด มากถึง 13 ล้านล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่มักใช้จ่ายไปกับ “แฟชั่น” มีรายได้กว่า 3.9 ล้านล้านบาท

มาถึงตรงนี้…ก็ถึงเวลาหา “คำตอบ” ของ “ตัวเลขสวนทาง” ที่ว่านั้นกันแล้ว
จากการสำรวจ Talking Stock with Teens พบ “ตัวเลขสวนทาง” ที่น่าสนใจ คือ ยอดการช็อปปิ้งของ “วัยรุ่นอเมริกัน” แตะระดับต่ำสุดในรอบ 2 ทศวรรษ! และเหตุผลหลักหนีไม่พ้น “โควิด-19” (COVID-19) ที่บรรดาวัยรุ่นอเมริกันทั้งหลายหวั่นวิตกว่าอาจทำให้เศรษฐกิจเข้าขั้นเลวร้ายที่สุด …จนทำให้ไม่กล้าจับจ่ายใช้สอย โดยการสำรวจฯ ครั้งนี้ ได้สอบถามผู้บริโภคกว่า 9,800 รายจาก 48 รัฐ ซึ่งมีรายได้ครัวเรือนเฉลี่ย 2.1 ล้านบาท เป็นการจัดเก็บระหว่างวันที่ 19 สิงหาคม – 22 กันยายน และได้เผยแพร่ไปเมื่อวันอังคารที่ 6 ตุลาคมที่ผ่านมา ยอดการช็อปปิ้งของ “วัยรุ่นอเมริกัน” ที่แตะระดับต่ำสุดในรอบ 2 ทศวรรษนั้น อยู่ที่ประมาณ 6.7 หมื่นบาท ลดลงกว่า 9% เมื่อเทียบกับปีก่อน (YoY) ซึ่งเมื่อปี 2549 วัยรุ่นอเมริกันเคยทำยอดการจับจ่ายสูงที่สุดถึง 9.4 หมื่นบาท หากแยกย่อยการจับจ่ายของ “วัยรุ่นอเมริกัน” ก็พบว่า ลดลงในทุกๆ หมวดสินค้า อย่างเครื่องแต่งกายที่มีการใช้จ่าย 1.6 หมื่นบาทต่อคนต่อปี ลดลง 11% จากช่วงที่ผ่านมา และผู้หญิงก็เป็นกลุ่มที่มีการใช้จ่ายกับเสื้อผ้ามากกว่าผู้ชาย เฉลี่ยประมาณ 4,990 บาท แน่นอนว่า “ไนกี้” (Nike) ยังคงครองตำแหน่งแบรนด์ขวัญใจไว้ได้อยู่อย่างเหนียวแน่น รองลงมาคือ “อเมริกัน อีเกิล” (American Eagle) ตามมาด้วย “อาดิดาส” (Adidas) ส่วนแบรนด์เครื่องแต่งกายที่ร่วงอันดับลงก็อย่างเช่น “ฟอร์เอเวอร์ 21” (Forever 21) และ “วิคตอเรีย ซีเคร็ท” (Victoria Secret) ที่ร่วงไปอยู่อันดับ 22 จากอันดับ 13 เมื่อปีที่แล้ว และสินค้าที่มียอดการใช้จ่ายแตะระดับต่ำที่สุดตลอดกาลก็คือ “กระเป๋าถือ” เฉลี่ยเพียง 2,714 บาทเท่านั้น ซึ่งในส่วนนี้ “หลุยส์ วิตตอง” (Louis Vuitton) ของ LVMH สามารถเบียด “ไมเคิล คอร์ส” (Michael Kors) ขึ้นแท่นแบรนด์กระเป๋าอันดับ 1 ไปได้ อีกหนึ่งหมวดสินค้าที่วัยรุ่นอเมริกัน (วัยรุ่นไทยก็ด้วย) อย่าง “รองเท้า” ที่แบรนด์ยอดนิยมอันดับ 1 ยังคงเป็น “ไนกี้” (Nike) รองลงมาคือ แวน (Vans) และอาดิดาส (Adidas) ก็พบว่ามียอดช็อปปิ้งลดลงเช่นกัน เพียง 8,575 บาทต่อคนต่อปี ลดลงจากปีก่อนหน้า 6% ซึ่งผู้ชายใช้จ่ายเงินไปกับรองเท้ามากกว่าผู้หญิง เฉลี่ย 1,559 บาท

แต่…ความน่าสนใจในหมวดเครื่องแต่งกาย ก็คือ ยอดการช็อปปิ้ง “สินค้ามือสอง” ที่เพิ่มขึ้นในหมู่วัยรุ่นอเมริกัน ที่มีการชิงส่วนแบ่งตลาดจากผู้เล่น(หน้า)เดิมมาได้ โดยเฉพาะร้านค้าปลีกสินค้าราคาถูก (Off-Price Retailer) เช่น ทีเจ แมกซ์ (TJ Max) และห้างสรรพสินค้าชั้นนำ ซึ่งกว่า 46% ของวัยรุ่นอเมริกัน หันไปซื้อสินค้ามือสองจากแพลตฟอร์มต่างๆ แทน เช่น โพสมาร์ก (Poshmark) และเดอะ เรียลเรียล (The RealReal) และกว่า 58% นิยมขายสินค้ามือสองบนมาร์เก็ตเพลส (Marketplace) หากจะถามว่า “อีคอมเมิร์ซเจ้าไหนที่ครองใจวัยรุ่นอเมริกันมากที่สุด?” คำตอบคงหนีไม่พ้น ยักษ์ใหญ่ “อเมซอน” (Amazon) ที่กว่า 54% ยืนยันหนักแน่นว่า Amazon คือ จุดหมายปลายทางช็อปปิ้งออนไลน์อันดับ 1 เพิ่มจากปีก่อนหน้าถึง 52% นี่จึงเป็นที่มาว่าทำไมตลาดอีคอมเมิร์ซถึงทำรายได้สูงขนาดนั้น

ในเวลาเดียวกัน…อีกฟากหนึ่งอย่าง “ห้างสรรพสินค้าและร้านค้าปลีก” กลับพบ “ตัวเลขสวนทาง” ที่น่าใจหาย
มีวัยรุ่นอเมริกันเพียง 33% เท่านั้น ที่ไปช็อปปิ้งในห้างสรรพสินค้า ส่วนร้านค้าปลีกเฉพาะอย่างก็มียอดการช็อปปิ้งลดลงจากปีก่อนถึง 36% ผลที่เกิดขึ้นจากการช็อปปิ้งน้อยลงคืออะไร?

ว่ากันว่า BIG NAMES, BIG PAINS เจ.ซี. เพนนีย์ (J.C. Penney), สเตจ สโตร์ (Stage Store) และนีแมน มาร์คัส (Neiman Marcus) ยื่นฟ้องล้มละลาย หรือเลือกเดินหน้าเข้าสู่แผนฟื้นฟู หรือแม้แต่ “ลอร์ด แอนด์ เทย์เลอร์” (Lord & Taylor) หนึ่งในห้างสรรพสินค้าที่เก่าแก่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา ก็เลือกเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูแผนชำระหนี้เช่นกัน
Lord & Taylor เป็นห้างสรรพสินค้าแห่งแรกที่ก่อตั้งในสหรัฐอเมริกา เมื่อปี 2369 ดำเนินกิจการมายาวนานกว่า 194 ปี …แต่เมื่อเจอพิษโควิด-19 ก็ยืนต่อไม่ไหว เข้าสู่กระบวนการยื่นฟ้องล้มละลายไปเมื่อวันที่ 2 สิงหาคมที่ผ่านมา ในขั้นต้น ประกาศปิดไปกว่า 20 แห่ง

ในส่วนภาพรวมของวัยรุ่นอเมริกัน ผู้ชายใช้จ่ายเงินกับอาหารมากถึง 21% ตามมาด้วยวิดีโอเกมและเสื้อผ้า ขณะที่ ผู้หญิงใช้จ่ายเงินมากกว่า 27% ไปกับเสื้อผ้า ตามมาด้วยอาหารและการดูแลตัวเอง

หนึ่งในความเป็นไปได้ที่ทำให้ “วัยรุ่นอเมริกัน” ช็อปปิ้งน้อยลง คาดว่าเกิดจากผู้ปกครองรวมถึงตัวเองต้องออกจากงาน โดยกว่า 48% ของวัยรุ่นอเมริกันเชื่อว่า เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาจะเข้าขั้นเลวร้ายที่สุด และไม่เพียงแต่ในสหรัฐอเมริกาเท่านั้น ที่ยอดช็อปปิ้งในห้างสรรพสินค้าลดลง ในไทยเองก็ไม่ต่างกันนัก!

จากการสำรวจ “ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีก” เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา พบว่า ลดลงต่ำกว่าเดือนมิถุนายน และอีก 3 เดือนข้างหน้า ก็ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าเดือนมิถุนายนเช่นกัน และจากการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ Modern Trade ไตรมาส 2 ก็พบว่า ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง มาอยู่ที่ระดับ 46.4 แม้ว่าที่ผ่านมา มาตรการที่เข้มงวดต่างๆ จะผ่อนคลายแล้ว แต่บรรดาขาช็อปส่วนใหญ่ก็ยังกังวลเรื่องของกำลังซื้อและรายได้ที่ลดลง ปัจจัยหลักๆ ก็มาจากอัตราการว่างงานและหนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้น แน่นอนว่ามีผลโดยตรงต่อยอดขายสินค้า

เรียกได้ว่า “วังวนค้าปลีก” ทั้งห้างสรรพสินค้าและร้านค้าปลีกเฉพาะอย่าง ล้วนกำลังอยู่ในสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วง ไหนจะการเข้ามาของ “ตลาดอีคอมเมิร์ซ” ที่กวาดรายได้ไปมหาศาล ไหนจะ “พิษโควิด-19” ที่ยังตกค้างล้างไม่ออกสักที จนรายย่อยถึงกับต้องปิดกิจการไปเงียบๆ ส่วนรายใหญ่ก็ตบเท้าเข้าแผนฟื้นฟู รายไหนยังพอลากไปไหวก็ดันโปรโมชั่นเพียบ แยกร่างเข้าตลาดอีคอมเมิร์ซ หวังรายได้พอเยียวยาให้กลับมาเติบโตในปีหน้าอีกครั้ง.
 
Cr. ภาพถ่ายโดย Craig Adderley จาก Pexels

สร้างธุรกิจที่ปรึกษาทางการเงินด้วยตัวคุณเองพร้อมทีมงานที่มีประสบการณ์
ติดต่อ Money and Wealth Plus
Tel: 063-282-3651
WEB: moneyandwealthplus.com
LINE : lin.ee/k5HwV9W
Map : g.page/MoneyandWealthPlus

#ที่ปรึกษาการเงิน #เติบโต #อาชีพอิสระ #การเงิน #การลงทุน #วางแผนภาษี #วางแผนการศึกษา #ประกันชีวิต #ชีวิตอิสระ #ไลฟ์สไตล์ #ฟินนะรี #มันนี่แอนด์เว้ลท์พลัส
#MoneyandWealthPlus #Lifestyle #Money #Fund #Financial #FA #Investment #Consultant #WealthCreation #WealthProtection #Freedom #WealthAccumulation #Work #Life #Balance #WealthDistribution #Finnaree 

ดูน้อยลง