รัฐเทกระเป๋าเยียวยา ก๊อกสุดท้าย เงินกู้สู้โควิด

รัฐเทกระเป๋าเยียวยา ก๊อกสุดท้าย เงินกู้สู้โควิด

รัฐเทกระเป๋าเยียวยา ก๊อกสุดท้าย เงินกู้สู้โควิด

     การแพร่ระบาดของโควิด-19 เกิดขึ้นตั้งแต่ต้นปี 2563 จนถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่า 1 ปีครึ่งแล้วที่ไวรัสชนิดนี้สร้างผลกระทบกับชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน รวมถึงส่งผลต่อเศรษฐกิจ ความเป็นอยู่และปากท้องผู้คนอย่างมาก
แต่ละประเทศมีการเตรียมความพร้อมเรื่องงบประมาณและเม็ดเงินจากแหล่งต่างๆเพื่อรับมือกับวิกฤติที่เกิดขึ้น

     ประเทศไทยออกพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) 3 ฉบับตั้งแต่เดือน เม.ย.2563 โดย 1 ใน 3 ฉบับคือ พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 พ.ศ.2563 วงเงิน 1 ล้านล้านบาท

     โดยเม็ดเงินตาม พ.ร.ก.ดังกล่าวส่วนใหญ่ใช้ไปกับการจ่ายเงินเยียวยาประชาชนจากการระบาดของโควิดในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาผ่านการระบาดของโควิด 3 ระลอกใหญ่ซึ่งรัฐบาลมีมาตรการออกมาเป็นระยะๆ ล่าสุดหลังจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบมาตรการช่วยเหลือเยียวยาประชาชนจากโควิดระลอกเดือน เม.ย.2564 และเตรียมมาตรการต่อเนื่องหลังจากที่โควิดคลี่คลายทำให้วงเงินที่เหลืออยู่ตาม พ.ร.ก.เงินกู้นั้นมีการอนุมัติโครงการเกือบเต็มวงเงินทั้ง 1 ล้านล้านบาทแล้ว

รายละเอียดของการใช้จ่ายเงินกู้ 1 ล้านล้านบาทนั้นในตอนแรกได้แบ่งการใช้จ่ายเงินกู้ออกเป็น 4 แผนงาน ได้แก่

 
1.แผนงาน/โครงการที่ 1 ค่าใช้จ่ายสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข วงเงิน 4.5 หมื่นล้านบาท โดยแผนงานนี้ข้อมูล ณ วันที่ 3 พ.ค.64 มีการอนุมัติโครงการจาก ครม.แล้ว42 โครงการ วงเงินรวม 2.58 หมื่นล้านบาท เหลือวงเงินอีกประมาณ 1.91 หมื่นล้านบาท โดยเงินกู้ในส่วนนี้ต้องกันไว้สำหรับโครงการที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์และสาธารณสุขไม่สามารถโยกไปใช้จ่ายในรายการอื่นได้

2.แผนงาน/โครงการเพื่อชดเชยเยียวยา ช่วยเหลือประชาชน วงเงินที่ตั้งไว้เดิมคือ 6 แสนล้านบาท แต่เนื่องจากการเยียวยาประชาชนเมื่อเกิดการระบาดระลอกที่ 1 และ 2 มีความต้องการใช้เงินในส่วนนี้เป็นจำนวนมาก โดยตามข้อกฎหมายใน พ.ร.ก.ได้เปิดช่องให้มีการโยกเอาเงินจากส่วนของการฟื้นฟูเศรษฐกิจในแผนงาน/โครงการที่ 3 มาใช้ในส่วนนี้ได้
โดยในการระบาดระลอกที่ 2 คณะกรรมการกลั่นกรองเงินกู้ฯที่มีเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เป็นประธานได้เสนอ ครม.ให้มีการโยกเงินกู้ส่วนดังกล่าวมาแล้ว 4.5 หมื่นล้านบาท (อนุมัติวันที่ 19 ม.ค. และ 15 ก.พ.)ทั้งนี้ ณ วันที่ 3 พ.ค.มีการอนุมัติโครงการในแผนงานที่ 2 ไปแล้ว 9 โครงการ วงเงินรวมประมาณ 5.9 แสนล้านบาททำให้เงินกู้ในแผนงาน/โครงการนี้เหลือเพียง 1.1 พันล้านบาทเศษ

3.แผนงาน/โครงการในการฟื้นฟูเศรษฐกิจจากผลกระทบโควิด-19 วงเงินรวม 3.55 แสนล้านบาท ณ วันที่ 3 พ.ค.64 มีโครงการที่ได้รับอนุมัติแล้ว 232 โครงการ วงเงิน 1.38 แสนล้านบาท คงเหลือวงเงินที่ยังไม่ได้อนุมัติประมาณ 2.16 แสนล้านบาท

และ 4.แผนงานในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งไม่ได้มีการตั้งกรอบวงเงินที่จะใช้เงินกู้ และยังไม่มีโครงการที่ได้รับการอนุมัติ

cr.www.bangkokbiznews.com/news/detail/937971
cr.Photo by Monstera from Pexels

Tel: 063-282-3651
Web: moneyandwealthplus.com
Line: lin.ee/k5HwV9W
Map: g.page/MoneyandWealthPlus

#MoneyandWealthPlus #Lifestyle #Freedom #Money #Fund #Financial #FA #Investment #Consultant #WealthCreation #WealthProtection #WealthAccumulation #WealthDistributio 

ดูน้อยลง