ใช้จอนาน ๆ ระวัง “ตาแห้ง”!
โรคตาแห้ง มีสาเหตุหลักมาจากการใช้สายตาระยะใกล้ อย่างการจ้องจอคอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือการอ่านหนังสือต่อเนื่องเป็นเวลาหลายชั่วโมง
สาเหตุของอาการตาแห้ง
#อายุ >> เมื่อสูงวัยร่างกายเราจะสร้างน้ำตาลดลง โดยเฉพาะเพศหญิงวัยหลังหมดประจำเดือน เป็นผลมาจากระดับฮอร์โมนที่ลดลง ทำให้สารคัดหลั่งต่าง ๆ ในร่างกาย รวมทั้งน้ำตาลดปริมาณลงไปด้วย
#การทำงานของเปลือกตาบกพร่อง >> เช่น หลับตาไม่สนิท กระพริบตาน้อย เปลือกตาผิดรูป
#ยาบางชนิด >> การใช้ยาบางชนิดอาจทำให้เกิดอาการตาแห้งได้ เช่น ยาลดน้ำมูก ยาแก้หวัด ยารักษาภูมิแพ้ ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง ยาโรคหัวใจ ยาคลายเครียด เป็นต้น
#การใช้สายตาติดต่อกันเป็นเวลานาน >> เช่น การทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ การอ่านหนังสือ การเล่นเกมบนโทรศัพท์มือถือ
#สภาพอากาศและสภาพแวดล้อมที่มีปัจจัยกระตุ้น >> เช่น มีฝุ่นละอองมาก หมอก ควัน ลมพัดแรง แสงสว่างหรือแดดจ้า รวมไปถึงการอยู่ในห้องปรับอากาศที่มีอากาศแห้ง
#คอนแทคเลนส์ >> การใส่คอนแทคเลนส์ที่ไม่เหมาะสมหรือไม่มีคุณภาพ อาจทำให้เกิดการระคายเคือง และเกิดอาการตาแห้งได้
#การผ่าตัดกระจกตาหรือเปลี่ยนกระจกตา >> รวมไปถึงการอักเสบของกระจกตาจากเชื้อเริม และการเป็นอัมพฤกษ์ที่ใบหน้า
#โรคบางชนิด >> เช่น โรคเบาหวาน กลุ่มอาการแพ้ยา ได้แก่ สตีเวน จอห์นสัน (Stevens-Johnson) โรคริดสีดวงตา และอาการผิวตาเสื่อมจากสารเคมี ได้แก่ กรด ด่าง รวมทั้งผื่นแพ้อย่างรุนแรง
เช็กว่าตาแห้งหรือไม่ ได้จากอาการเหล่านี้
➢ ระคายเคืองตา ไม่สบายตา เหมือนมีเศษผงอยู่ในดวงตา ตาแดง
➢ รู้สึกแสบตา ตาล้าง่าย โดยเฉพาะเมื่อมีลมพัดเข้าสู่ดวงตา
➢ ตาสู้แสงไม่ได้ น้ำตาอาจไหลมาก เพราะเคืองตา
➢ เมื่ออยู่ในห้องแอร์จะรู้สึกได้ว่าดวงตาแห้ง และรู้สึกดีเมื่อกระพริบตา
➢ เมื่ออ่านหนังสือ หรือทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ในระยะใกล้ ไปสักระยะหนึ่งแล้วจะรู้สึกว่าตาเบลอ ๆ
การรักษาอาการตาแห้ง
ถ้าสังเกตอาการแล้วพบว่าตนเองมีอาการตาแห้ง และลองรักษาอาการเบื้องต้นแล้วแต่ยังไม่ดีขึ้น หรือกลับมามีอาการในลักษณะเดิมซ้ำ ๆ แนะนำให้ไปตรวจตากับจักษุแพทย์เพื่อให้ทราบสาเหตุของโรคที่แน่ชัด และได้รับการรักษาที่เหมาะสมนะครับ
เพื่อให้อุ่นใจและไม่ต้องกังวลเรื่องค่ารักษาพยาบาล รวมถึงการขาดรายได้หากต้องหยุดงานในกรณีที่ต้องผ่าตัดและพักรักษาตัว ขอแนะนำให้ทำประกันสุขภาพที่ครอบคลุมค่ารักษาทั้งผู้ป่วยใน (IPD) และผู้ป่วยนอก (OPD) รวมถึงการชดเชยรายได้เมื่อต้องเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาล ได้แก่
รวบรวมข้อมูลโดย ฝ่ายประกันสุขภาพ เอไอเอ ประเทศไทย
หมายเหตุ