ทำความรู้จัก สิทธิ UCEP ป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิรักษาได้ทุกที่

ทำความรู้จัก สิทธิ UCEP ป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิรักษาได้ทุกที่

 โดยไม่ต้องสำรองจ่าย เงื่อนไขเป็นอย่างไร ขั้นตอนเข้ารับการรักษาต้องทำอะไรบ้าง
8 มีนาคม 2565 กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) มีระบบการรักษา UCEP เพื่อลดการเหลื่อมล้ำในการรักษาพยาบาล และช่วยให้ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต เพื่อให้มีสิทธิในการเข้าถึงการบริการอย่างปลอดภัย โดยไม่มีเงื่อนไขในการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาล ต่อมาจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 ที่มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีอาการรุนแรง ทาง สธ. ได้ให้ผู้ป่วยโควิด-19 เข้าข่ายใช้สิทธิ UCEP ได้
 
ล่าสุด สธ. เตรียมปรับแนวทางสิทธิ UCEP สำหรับผู้ป่วย “โควิด-19” กลุ่มสีเขียว เพื่อเดินหน้าให้ โควิด-19 เป็น “โรคประจำถิ่น” เพื่อปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ความรุนแรง การเจ็บป่วยของโรคโควิด-19 ที่ลดลง โดยหากเจ็บป่วยฉุกเฉินให้เข้ารักษาตามสิทธิโรงพยาบาลที่มีอยู่ ซึ่งคนไทย 99% ก็มีสิทธิอยู่ตามโรงพยาบาลต่างๆแล้ว ส่วน ผู้ป่วยสีเหลืองและสีแดง ยังได้รับสิทธิการรักษาแบบฉุกเฉินอยู่ เพื่อความปลอดภัย
 
รู้จัก สิทธิ UCEP
สิทธิ UCEP ย่อมาจาก “Universal Coverage for Emergency Patients” แปลเป็นภาษาไทยได้ว่า “เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตมีสิทธิทุกที่”
 
UCEP คือ สิทธิการรักษาตามนโยบายรัฐ เพื่อคุ้มครองผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ให้สามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทุกแห่งที่ใกล้ที่สุดได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายจน พ้นวิกฤตและสามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างปลอดภัย แต่ไม่เกิน 72 ชั่วโมง ดังนั้นแม้จะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชนที่ผู้ป่วยไม่มีสิทธิอะไรเบิกได้เลย ไม่ว่าจะเป็นกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า กองทุนประกันสังคม หรือกองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ก็สามารถใช้สิทธิ UCEP ได้
 
UCEP มีขึ้นมาเพื่อลดการเหลื่อมล้ำในการรักษาพยาบาล และช่วยให้ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิในการเข้าถึงการบริการอย่างปลอดภัยโดยไม่มีเงื่อนไขในการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาล
 
อาการที่เข้าข่าย ภาวะฉุกเฉินวิกฤต
  1. หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ
  2. หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรงหายใจติดขัดมีเสียงดัง
  3. ซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็น
  4. เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน รุนแรง
  5. แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีกพูดไม่ชัดแบบปัจจุบันทันด่วนหรือชักต่อเนื่องไม่หยุด
  6. อาการอื่นที่มีผลต่อการหายใจ ระบบการไหลเวียนโลหิต และระบบสมองที่เป็นอันตรายต่อชีวิต
 
ประชาชนที่จะใช้สิทธิ UCEP ได้ ต้องเป็นผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉิน ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชนในพื้นที่ที่อยู่ใกล้ และเป็นโรงพยาบาลนอกคู่สัญญากับกองทุนที่ผู้ป่วยมีสิทธิ ไม่ใช่โรงพยาบาลที่ผู้ป่วยมีสิทธิของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานประกันสังคม หรือกรมบัญชีกลาง นับเป็นสิทธิประโยชน์ดี ๆ ในกรณีที่เจ็บป่วยฉุกเฉินและวิกฤต
 
“หากเกิดอาการเจ็บป่วยวิกฤตฉุกเฉิน ให้รีบนำตัวผู้ป่วยไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด หรือ โทร. 1669 สายด่วนสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่ โดยไม่ต้องสำรองจ่าย”
 
ขั้นตอนการใช้สิทธิ UCEP
  1. ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตเข้าโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด
  2. โรงพยาบาลประเมินอาการและคัดแยกระดับความฉุกเฉิน
  3. ศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิ ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูล
  4. กรณีเข้าเกณฑ์ฉุกเฉินวิกฤต จะได้รับความคุ้มครองตามสิทธิ UCEP ทันทีแต่ไม่เกิน 72 ชั่วโมง
  5. กรณีไม่เข้าเกณฑ์ฉุกเฉินวิกฤตให้รีบประสานโรงพยาบาลตามสิทธิหากประสงค์รักษาต่อต้อง รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง
ข่าวฉบับเต็ม: https://www.nationtv.tv/news/378866002
 
“เราคือที่ปรึกษาการเงิน การบริหารความเสี่ยง แผนประกันชีวิต ประกันภัย หุ้น กองทุนรวม ทั้งในและต่างประเทศ การวางแผนภาษี ด้วยทีมงานมืออาชีพพรั่งพร้อมด้วยประสบการณ์”
 
สนใจร่วมงานกับเรา เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การเป็นที่ปรึกษาทางการเงินมืออาชีพได้ตามช่องทางนี้
E-mail: moneyandwealthplus@gmail.com
Tel: 063-282-3651
.